· นักวิเคราะห์จาก FX Empire วิเคราะห์ว่า ภาพหลักของดัชนี S&P500 ยังเป็นทิศทางขาขึ้น และหากดัชนียังมีระดับการซื้อขายแถว 2,849.5 จุดได้ก็จะยังส่งสัญญาณถึงภาวะขาขึ้น แต่หากหลุดกลับต่ำกว่า 2,792.5จุด ก็มีโอกาสทำให้ภาพแนวโน้มหลักมาเป็นขาลง และจะเห็นกลับลงไปทำระดับต่ำสุดเดิมที่ 2,789.75 จุด และ 2,765.75 จุดได้
ในระยะสั้น ดัชนี E-mini S&P500 จะมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 2,792.5 – 2,849.5 จุด โดยมีระดับแนวต้านที่ 2,821 – 2,814.25 จุด ซึ่งเป็นระดับที่จะทำให้ภาพทางเทคนิคเปลี่ยนเทรนเป็นขาลง ขณะที่กรอบการเคลื่อนไหวหลักของดัชนีจะอยู่ระหว่าง 2,693.25 – 2,849.5 จุด หากตลาดเปลี่ยนแนวโน้มมาเป็นขาลง ก็มีโอกาสเห็นราคาร่วงลงมาทดสอบแนวต้านเดิมที่ 2,771.25 – 2,755.25 จุด
· ตลาดหุ้นยุโรปเปิดบวก ท่ามกลางแรงหนุนจากความสำเร็จในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและยุโรป รวมถึงการรายงานผลประกอบที่แข็งแกร่ง โดยดัชนี STOXX 600 เปิด +0.4% นำโดยหุ้นกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์
· ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปิดในแดนบวก หลังการประชุมระหว่างสหรัฐฯและยุโรปดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีการตกลงที่จะลดกำแพงทางการค้าลง อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นจีนที่ปิดลบในวันนี้ยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันดัชนีให้ขยายตัวได้ไม่มากนัก โดยดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิด +0.1%
· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นส่วนใหญ่ปิดในแดนบวก โดยดัชนี Topix ปิด +0.7% ทำระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ที่ 1,765.78 จุด ท่ามกลางแรงหนุนจากการรายงานผลประกอบที่แข็งแกร่ง และความกังวลเกี่ยวกับ Trade ไปลดน้อยลงไป
อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nikkei กลับปิด -0.12% ที่ 22,586.87 จุด หลังมีรายงานว่า บีโอเจอาจพิจาณาลดการเข้าซื้อกองทุน ETF ในดัชนี Nikkei และเพิ่มการเข้าซื้อกองทุนในดัชนี Topix แทน โดยบีโอเจอาจประกาศอย่างเป็นทางการอีกทีหลังการประชุมสัปดาห์หน้า
· ตลาดหุ้นจีนปิดลบ ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อ Trade war ระห่างสหรัฐฯและจีนที่ยังคงยืดเยื้อมาหลายเดือน และอาจกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุนมีความรมัดระวังในการลงทุนสูง โดยดัชนี Shanghai Composite ปิด -0.7% ที่ 2,882.23 จุด
· สศค. คาดกนง.ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ถึงสิ้นปี เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันมีการคงเป้าจีดีพีปีนี้โต 4.5% แต่อัพเป้าส่งออกเป็นโต 9.7% จากเดิม 8%
สำหรับในช่วงไตรมาสที 2/61 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี เพราะได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยจะเห็นได้จากภาคส่งออกเดือนมิ.ย. ขยายตัวได้ 8.2% ขณะที่ไตรมาสที่ 2/61 โตได้ 10.6%
นอกจากนี้ สศค.ประเมินเงินบาทปีนี้เฉลี่ยที่ 32.25 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปีก่อน 5%