สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2562

ข่าว

สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2562

26 มิถุนายน 2562

· ดัชนี S&P500 ปิดปรับตัวลงติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยถือเป็นการปรับตัวลงต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่จับตาการพบกันของผู้นำสหรัฐฯและจีนในสัปดาห์นี้

S&P500 ปิด -0.1% ที่ระดับ 2,913.78 จุด ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 11.4 จุด ที่ระดับ 26,536.82 จุด หลังจากที่ปรับขึ้นไปกว่า 100 จุดในวันก่อน ด้านดัชนี Nasdaq ปิดปรับขึ้น 0.3% ที่ระดับ 7,909.97 จุด จากหุ้นกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์สที่ปรับตัวขึ้นตามหุ้นบริษัท Micron

· นักวิเคราะห์จาก J.P. Morgan ระบุว่า การที่เราเห็นดัชนี S&P500 ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี และเป็นการปรับขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี ประกอบกับดัชนีดาวโจนส์ที่มีการทำระดับที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 1938 นั้นได้ ก็ดูจะแฝงถึงนับยะบางอย่างของการฟื้นตัวที่ไม่น่าเป็นการปรับขึ้นของแนวโน้มที่ถูกต้อง โดยที่หุ้นกลุ่มผู้บริโภค ตลอดจนหุ้นเทคโนโลยี และวงจรของหุ้นส่วนใหญ่ที่ปรับขึ้นดูจะขึ้นในช่วงที่การเติบโตทางเศรษฐกิจมีความล้มเหลวที่จะฟื้นตัวต่อตั้งแต่เดือนพ.ค.

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ไม่เชื่อว่าการเกิด Divergence ระหว่าง Cyclicals และ Defensives ซึ่งหากดัชนี S&P500 จะฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ วัฎจักของตลาดต้องเริ่มต้นด้วยดีควบคู่กับปัจจัยที่เกิดขึ้น หรือหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนในเชิงปรับขึ้นต่อเนื่อง

· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงจากเหล่าเทรดเดอร์ที่รอดูสัญญาณจากความคาดหวังในเรื่องการเจรจาระหว่างสหรัฐฯและจีนในกาประชุม G20 ที่จะมาถึง โดยดัชนี Stoxx600 ปิด -0.3% ท่ามกลางหุ้นกลุ่มยานยนต์ที่ปรับตัวขึ้นไปกว่า 0.9% และหุ้นสุขภาพปรับตัวลง 1.2%

· หุ้นเอเชียเปิดด้วยท่าทีระมัดระวัง โดยนักลงทุนรอคอยการพบกันของผู้นำสหรัฐฯและจีนในการประชุม G20 สัปดาห์นี้ โดยดัชนีนิกเกอิเปิด +0.3% ขณะที่ Topix ก็เปิด +0.4% ทางด้าน Kospi ของเกาหลีใต้เปิดแดนลบ เช่นเดียวกับหุ้นASX200 ที่ปิด -0.38%

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นักบริหารการเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ระหว่าง 30.65-30.75 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทแข็งค่าหลัง กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ซึ่งเป็นการโหวตอย่างเป็นเอกฉันท์ติดกันเป็นครั้งที่ 3 ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าและซื้อขายแถวระดับ 30.75 บาท/ดอลลาร์ นับตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่ามากกว่า 5% และเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากกว่าสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ส่วนที่ 2 คือ เปโซ ฟิลิปปินส์ แข็งค่าประมาณ 2% นอกจากนี้ คณะกรรมการ กนง.ได้แสดงความเห็นกรณีที่เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไปอาจไม่ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

- ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปีหลังมองเศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากผลกระทบของการส่งออกสินค้าและบริการที่สำคัญ

- ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุว่า ในการประชุมรอบนี้ กนง.ส่งสัญญาณชัดเจนว่ามีความกังวลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่แข็งค่าค่อนข้างเร็วและไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน โดยมอบหมายให้ ธปท.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเงินบาทแข็งค่ามากกว่าค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 62 ลงเหลือโต 3.1% จากเดิมที่ 3.7% โดยมีปัจจัยสำคัญจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ทำให้การส่งออกไทยชะลอตัว พร้อมกันนี้ ยังได้ปรับลดประมาณการส่งออกไทยในปีนี้ลงเหลือ 0% จากเดิมที่ 3.2% เนื่องจากทิศทางการค้าโลกชะลอตัวจากปัญหาสงครามการค้า ขณะที่ทิศทางค่าเงินบาทในปัจจุบันถือว่าแข็งค่าขึ้นอย่างมาก โดยแข็งค่าขึ้นเกือบ 6% ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ซึ่งมาจากการที่ตลาดรับปัจจัยของการที่เฟดส่งสัญญาณถึงโอกาสของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ค.ที่จะถึงนี้ ทำให้กระแสเงินทุนกลับมาไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น รวมถึงไหลเข้าในตลาดหุ้นและตสาดสารหนี้ไทยอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยที่ในสิ้นปีนี้ยังคงค่าเงินบาทอยู่ที่ 31 บาท/ดอลลาร์ แต่หากเฟดลดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯลง 1 ครั้งในการประชุมครั้งหน้าที่จะถึงนี้ จะส่งผลให้มีกระแสเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าในสิ้นปีนี้ที่ระดับ 30.50 บาท/ดอลลาร์

- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกนี้มีการชะลอตัวลง จากสาเหตุของการเมืองภายในประเทศที่เป็นช่วงการเลือกตั้งทั่วประเทศและยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงทำให้ไม่สามารถออกนโยบายได้ แต่ทั้งนี้ เชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อมีรัฐบาลใหม่ชัดเจน การบริหารประเทศและขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ตลอดจนการลงทุนก็จะเริ่มมีมากขึ้น และเศรษฐกิจก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ

บริษัท เอ็มทีเอส แคปปิตอล จำกัด
10,12,14 ชั้น 3 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
Copyright © 2014 MTS Capital Co., Ltd. All right reserved