สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

ข่าว

สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

8 กรกฎาคม 2562

· ดัชนีหุ้นอนุพันธ์สหรัฐฯเปิดอ่อนตัวลงในเช้านี้จากข้อมูลภาคแรงงานที่แข็งแกร่งที่ลดโอกาสการที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ โดยดัชนี Dow Futures ปรับลง 80 จุด หลังจากที่เปิดช่วงต้นตลาดที่ 115 จุด ทางด้าน S&P500 และNasdaq ก็เปิดแดนลบ

บรรดาเทรดเดอร์ยังคงมีมุมมองว่าเฟดจะทำการปรับลดดอกเบี้ยต่อในการประชุมครั้งหน้า ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หลังการประชุมสุดท้ายของเฟดสะท้อนว่าจะดำเนินนโยบายด้วยคามเหมาะสมกับสภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในปัจจุบั

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯออกมาเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง จึงบรรเทากระแสคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนนี้ลงไป โดยดัชนั Stoxx600 เพิ่มขึ้นประมาณ 0.1% ท่ามกลางตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก

· หุ้นดอยซ์แบงก์ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 4% หลังธนาคารดอยซ์แบงก์ ประกาศแผนปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ซึ่งรวมถึงการปรับลดจำนวนพนักงาน 18,000 ตำแหน่ง ลงเหลือ 74,000 ตำแหน่งภายในปี 2022 ปรับลดสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงลงราว 40% ในธุรกิจที่ประสบปัญหา และจะไม่มีการจ่ายเงินปันผลในปี 2019 และ 2020

นอกจากนี้ ดอยซ์แบงก์เตรียมถอนตัวออกจากธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วโลก และคาดว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 7.4 พันล้านยูโรภายในปี 2565 ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารขาดทุนราว 2.8 พันล้านยูโรในไตรมาส 2/2019 โดยธนาคารจะเปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาส 2 ในวันที่ 25 ก.ค.นี้

· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง หลังจากตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐฯออกมาแข็งแกร่ง จึงบรรเทากระแสคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดลงไป ขณะที่ค่าเงินลีร่าตุรกีอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์เนื่องจากความกังวลหลังจากที่ประธานาธิบดีเรเซพ ตอยยิบ เออร์โดกัน ประกาศปลดนายมูรัต เซตินคายา ผู้ว่าการธนาคารกลางตุรกีออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้ตลาดกังวลว่ารัฐบาลอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้

ความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นถูกกดดันจากการตัดสินใจของ Morgan Stanley เพื่อลดความเสี่ยงในตลาดหุ้นทั่วโลกเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการผ่อนคลายนโยบายเพื่อชดเชยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง

โดยตลาดหุ้นเอเชียอ่อนแอในวันนี้ หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลงกว่า 1% ท่ามกลางตลาดที่เคลื่อนไหวในแดนลบ

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลง หลังจากข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯออกมาดีกว่าที่คาด จึงช่วยบรรเทากระแสคาดการ์การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนนี้ลงไป

นอกจากนี้ ข้อมูลทางเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอ ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรหลักของญี่ปุ่นลดลงมากที่สุดในรอบ 8 ดือน ท่ามกลางความกังวลว่าความตึงเครียดทางการค้าโลกกำลังส่งผลกระทบต่อการลงทุนของภาคบริษั

โดยดัชนี Nikkei ลดลง 1% ที่ระดับ 21,534.35 จุด

· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลง โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 2.58% ที่ระดับ 2,933.36 จุด ซึ่งร่วงลงมากที่สุดในรอบกว่า 2 เดือน เนื่องจากเหล่านักลงทุน

ชะลอความกังวลเกี่ยวกับกระแสคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดซึ่งส่งผลกระทบต่อหุ้นเทคโนโลยี

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

· ธนาคารโลก (World Bank) เปิดตัวรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุด โดยระบุว่า ช่วงต้นปี 62 เศรษฐกิจไทยเริ่มเติบโตช้าลงท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวลง โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะชะลอการเติบโตลงมาอยู่ที่ 3.5% จากปีก่อนที่เติบโต 4.1%

ขณะที่การส่งออกไทยลดลงเหลือ 4% ในไตรมาสแรกของปี 62 นับเป็นการลดลงไตรมาสแรกในรอบ 3 ปี โดยคาดว่าในปีนี้ การส่งออกไทยจะขยายตัวได้ 2.2% ส่วนการนำเข้า ขยายตัวได้ 3.9% ด้านการลงทุนของภาคเอกชนและการบริโภคของครัวเรือน ยังคงเติบโตใกล้เคียงกับระดับสูงสุดที่เคยมีมาในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา โดยได้รับปัจจัยด้านบวกจากอัตราเงินเฟ้อต่ำ การเพิ่มการจ้างงาน และการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อมาใช้ดำเนินการ

ขณะเดียวกันการลงทุนภาครัฐลดลง เนื่องจากการดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่ชะลอตัว อันเนื่องมาจากการเลือกตั้งที่ล่าช้า มีผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงที่ 2.8% ในไตรมาสแรกของปี 62 ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำกว่า 3% เป็นครั้งแรกนับจากกลางปี 58

นอกจากนี้ ธนาคารโลก ยังคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 63 จะเติบโตได้ 3.6% จากเดิมคาด 3.9% และเติบโตได้ 3.7% ในปี 64

ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยืดเยื้อเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคต ความกังวลที่มีต่อความมั่นคงของรัฐบาลผสมที่เกิดจาก 19 พรรคการเมือง มีผลด้านลบต่อนักลงทุนและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมถึงอาจมีผลต่อความล่าช้าในการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลให้ทันกำหนดการที่วางไว้

นอกจากนี้แล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกได้แก่ ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลให้ความต้องการสินค้าส่งออกจากประเทศไทยลดลง และไม่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนในอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก

อ้างอิงจากสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

- ธนาคารโลกหั่นจีดีพีไทยปีนี้ลงเหลือ 3.5% จากเดิมคาด 3.8% ด้านส่งออกคาดโต 2.2% จากเดิมคาด 5.7% หลังศก.ครึ่งปีแรกโตช้า มองการเมืองเหตุตั้งรัฐบาลล่าช้าเป็นปัจจัยเสี่ยง ห่วงกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค-การลงทุน ด้านเงินไหลเข้า ดันบาทแข็ง แต่ธปท.ยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยนโยบาย

- กระทรวงพาณิชย์ไทย โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 3/50 ระหว่างวันที่ 14 – 18 กรกฎาคมนี้ ณ กรุงเทพฯ เร่งติดตามความคืบหน้าประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เหลืออีก 11 ประเด็น ก่อนเสนอผู้นำอาเซียนเดือนพฤศจิกายนนี้ พร้อมประชุมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 9 ประเทศ หารือผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

- ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS เช้านี้บวก 3.42% ทำราคาเพิ่มขึ้น 0.25 บาท มาอยู่ที่ 7.55 บาท นิวไฮรอบ 1 ปี 5 เดือน มูลค่าการซื้อขาย 419 ล้านบาท

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส คาด JAS จะขายสินทรัพย์เข้า JASIF คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ประมาณปลายปี 2562 นี้ ในราคาขายเฟส 2 ครั้งที่ 1 จำนวน 35 พันล้านบาท สำหรับสินทรัพย์เป็นไฟเบอร์ ออฟติคที่ 6.5 แสนคอร์กิโลเมตรหากอ้างอิงอัตรากำไรที่ได้รับจากการขายสินทรัพย์เฟส 1 คาดว่ากำไรก่อนและหลังภาษีเป็น 11.6 และ 9.2พันล้านบาทตามลำดับทีเดียว จึงยังผลให้กำไรสุทธิปี 62 สูงไปถึง 11.4 พันล้านบาท โตกระโดดถึง 104% y-o-y และด้วยอัตราการจ่ายปันผล (payout Ratio) ที่ 80% จึงคาดว่าเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) ปี 62 จะสูงเป็น 1 บาท และคิดเป็นอัตราผลตอบแทนปันผลสูงถึง 13.7% คาดว่าจะเป็นลำดับต้นๆใน SET


บริษัท เอ็มทีเอส แคปปิตอล จำกัด
10,12,14 ชั้น 3 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
Copyright © 2014 MTS Capital Co., Ltd. All right reserved